ในการออกแบบ Sprinkler fire protection ประเภท storage หรือ ในอาคารสินค้านั้น บ่อยครั้งมักจะเห็นการจัดวางบน Rack หรือ ในมาตรฐานการออกแบบ NFPA./FM. Global จะเรียกว่า Rack storage
การจัดเก็บ Rack storage โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น Rack สองชนิดคือ Open frame rack กับ Solid shelf คือ Rack แบบโล่ง กับ Rack ที่มีแผ่นรองสินค้าแบบทึบนั่นเอง
ในมาตรฐานการการออกแบบ เราจะเห็นได้ว่า การออกแบบส่วนใหญ่ มักจะเห็น Note ที่ระบุไว้ว่า ไม่รวมการจัดเก็บประเภท solid shelf ซึ่งจะส่งผลขัดขวางการกระจายน้ำ ของหัว Sprinkler โดยตรง ทำให้การออกแบบระบบดับเพลิง ประเภท Solid shelf มีความซับซ้อนมากขึ้น และจะส่งผลต่องบประมาณ การติดตั้งระบบดับเพลิง
ตรงนี้หลาย ท่านที่เคยอ่าน NFPA. จะเกิดความสับสน ระหว่าง Solid shelf และ Solid Shelving ขอให้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า Solid shelf หรือประเภทของ Rack และ Solid Shelving คือลักษณะการจัดเก็บ
อีกทั้งฝ่ายผู้จัดเก็บสินค้าควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับ รูปแบบการจัดเก็บ ที่จะส่งผล ให้ถูกจำกัดความว่า เป็น Solid Shelving หรือการจัดเก็บแบบทึบ ตามคำจำกัดความต่อไปนี้
Solid Shelving. : Shelving that is fixed in place, slatted, wire mesh, or other type of shelves located within racks. The area of a solid shelf is defined by perimeter aisle or flue space on all four sides or by the placement of loads that block openings that would otherwise serve as the required flue spaces. Solid shelves having an area equal to or less than 20 ft2 (1.9 m2) are defined as open racks. Shelves of wire mesh, slats, or other materials more than 50 percent open and where the flue spaces are maintained are defined as open racks.
Solid Shelving. : คือการจัดเก็บ บนแผ่นไม้ แผ่นตะแกรง หรือ แผ่นรอง ใน Rack. โดยพื้นที่ของ Solid shelf จะถูกกำหนดตาม ช่องเปิด ตามแนวทั้งสี่ข้างของ สินค้าที่จัดวาง. การจัดเก็บแบบทึบ หรือ Solid shelving ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 1.9 ตรม. จะถูกกำหนดให้เป็นการจัดเก็บประเภท Open rack.แผ่นรอง เช่น แผ่นตะแกรง แผ่นไม้ หรือวัสดุอื่นที่ ที่มีช่องเปิดมากกว่า 50% ของวัสดุ ก็จะกำหนดให้เป็น Open rack เช่นกัน
การจัดวางซึ่งส่งผลกระทบต่อการคำนวณพื้นที่ของ Shelf ในที่นี้ หมายถึงการจัดวางสินค้าโดยจะต้อง มีช่องว่างรอบพื้นที่สินค้า โดยมีระยะห่างอย่างน้อย 150 มม.
Note:
Flue space : คือช่องว่างระหว่าง การจัดเก็บสินค้าในพื้นที่ Rack เดียวกัน แบ่งเป็น Transverse Flue space และ Longitudinal flue space ช่องว่างนี้ จะเป็นพื้นที่ ที่เกิดการลุกลามไฟในแนวตั้ง และยังเป็นพื้นที่ ที่ระบบน้ำดับเพลิงสามารถไหลผ่านเพื่อดับเพลิงระหว่างช่องเปิดนี้ได้อีกด้วย