เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของปั้ม ชนิด Close couple กับ Long coupled pump และการเลือกใช้งาน ความเร็วรอบปั้ม





          Close coupled pump คือปั้มประเภทที่มีลักษณะมอเตอร์ติดกับตัวปั๊ม

          ข้อดี คือ มีขนาดกะทัดรัด ติดตั้งง่าย ไม่ต้องทำการ alignment หลังจากการติดตั้ง

          ข้อเสีย คือ เนื่องจากโครงสร้าง ที่มีลักษณะมอเตอร์ติดกับตัวปั๊ม ทำให้มีความทนทานน้อยกว่าชนิด End suction และการซ่อมบำรุงค่อนข้างยุ่งยาก กว่าเนื่องจากเวลาซ่อม จำเป็นต้องถอดปั้มไปซ่อมทั้งตัว 



              Long coupled pump  คือปั้มประเภทที่มีลักษณะมอเตอร์แยกกับตัวปั๊ม โดยใช้เพลาประกับ เชื่อมการทำงานระหว่าง มอเตอร์และปั๊ม

             ข้อดี คือ เนื่องจากมีมอเตอร์ที่แยกจากตัวปั้มทำให้ มีอายุการใช้งานที่นานกว่า และ เวลาซ่อมสามารถถอดไปซ่อมเฉพาะมอเตอร์ได้ ซึ่งส่งผลให้ ปั้มขนาดใหญ่ จะเป็นชนิด Long coupled pump


             ข้อเสีย คือ ราคาแพงกว่า ปั้มกำลังเท่ากันจะมีขนาดและน้ำหนักที่เยอะกว่า ติดตั้งได้ยากกว่า และต้องทำการ alignment หลังจากการติดตั้ง

ข้อสังเกต : หากเป็นปั้มขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ไม่ลำบาก ควรเลือกใช้ปั๊มชนิด Close coupled pump เนื่องจากการ alignment ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแม้แต่กับช่างที่ไม่ชำนาญ


การเลือกใช้งานมอเตอร์ชนิด  1,450 และ 2,900 รอบต่อนาที
     
     ปั้มรอบสูง 2900 รอบ/นาที  ข้อดี  เนื่องจากใช้ มอเตอร์ชนิด 2 pole ทำให้ ราคาถูก ขนาดเล็กและมี น้ำหนักเบา และ สามารถส่งกำลังได้ดี เหมาะกับการใช้งานปั้มที่ต้องการ Head 30 ขึ้นไป

ปั้มรอบต่ำ 1450 รอบ/นาที ข้อดี เนื่องจากใช้มอเตอร์ 4 pole ทำให้ มีความทนทานมากกว่า อายุการใช้งานดีกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า แต่ข้อเสียคือมีขนาดที่ใหญ่และมีราคาแพงกว่ามาก



ปล. ในปั้มขนาดใหญ่ สามารถควบคุมความเร็วรอบด้วยชุดอุปกรณ์ VSD. (Variable speed drive) โดยการควบคุณกระแสไฟที่จ่ายให้กับปั้ม ในการเร่งรอบหรือลดความเร็วรอบ เพื่อลดความเสียหายจากการทำงานของปั้ม


บทความที่ได้รับความนิยม