แนวคิดในการ สร้างหรือเลือกใช้ อาคารจัดเก็บสินค้า เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการออกแบบและติดตั้งระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง


        ปัญหาการออกแบบระบบสปริงเกอร์ในอาคารจัดเก็บสินค้าหลายครั้งที่ผู้เขียนเคยพอเจอ คืออาคารหลายที่ไม่เหมาะกับการจัดเก็บสินค้า และ เมื่อต้องออกแบบ ระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง ส่งผลตามมาหลายปัญหาเช่น ต้นทุนสำหรับระบบดับเพลิงสูงเกินไป หรือ ปั๊มดับเพลิง หรือ พื้นที่ก่อสร้างถังเก็บน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบ วันนี้เราจะมาลองดูกันครับว่าแนวคิดที่ดีสำหรับ การก่อสร้าง หรือเลือกใช้อาคารสำหรับจัดเก็บสินค้าที่จะช่วย ลดปัญหาดังกล่าวมีอะไรบ้าง

ข้อแรกอาจจะมองข้ามเรื่องความปลอดภัยไปหน่อย แต่เป็นสิ่งที่ควรรู้คือ ตามกฎหมายไทย ระบุไว้วา อาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไปจะต้องติดตั้งระบบกระจายน้ำด้วยสปริงเกอร์หรือเทียบเท่า

Ceiling Height หรือความสูงของหลังคาบ่อยครั้งมักจะเห็นอาคารจัดเก็บสินค้าก่อสร้าง สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น ประมาณว่ายิ่งสูงยิ่งเก็บได้เยอะ แต่รู้หรือไม่ว่า ยิ่งอาคารยิ่งสูง ความต้องการน้ำดับเพลิง สำหรับดับเพลิงก็ยิ่งสูงขึ้น เนื่องจาก อาคารยิ่งสูง หัวสปริงเกอร์ยิ่งแตกช้า ความรุนแรงของเหตุเพลิงไหม้ก็จะยิ่งแรงขึ้น ดังนั้น หากเป็นไปได้ ควรเลือกจัดเก็บสินค้า ตามความเหมาะสม ครับ จากประสบการณ์ผู้เขียน หากจะแนะนำความสูงที่เหมาะสม อยู่ที่ไม่เกิน 9 เมตรครับ

Slope ceiling หรือ ความลาดชันของอาคาร มีผลต่อความรุนแรงของเพลิง และส่งผลให้ การออกแบบระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง จะต้องเพิ่ม Design area สำหรับ การลุกลามของเหตุเพลิงไหม้ สำหรับอาคารที่มีหลังคาลาดชันมากกว่า 9 และ ไม่อนุญาตให้ใช้การออกแบบระบบสปริงเกอร์ดับเพลิงสำหรับอาคารจัดเก็บสินค้า ที่มีหลังคาลาดชันมากกว่า 9 องศา

Roof ventilation system หรือ ระบบระบายอากาศภายในโรงงาน ในพื้นที่อาคารเก็บสินค้าเป็นพื้นที่ ที่ไม่ควรมีระบบระบายอากาศบริเวณหลังคา เนื่องจาก อากาศ จะส่งผลโดยตรงต่อความรุนแรงของเหตุเพลิงไหม้ ไม่อนุญาตให้ใช้ การออกแบบระบบสปริงเกอร์ดับเพลิงในโหมด ESFR. ในอาคารประเภทนี้เช่นกัน


Commodity Classification หรือ ระดับความอันตรายของสินค้าที่จัดเก็บ ในการจัดเก็บสินค้า หรือ วัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งการออกแบบระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง จะออกแบบ ตามวัตถุที่มีความอันตรายสูงสุด จึงนับเป็นเรื่องที่ดี หากจะมีการ แยกประเภทสินค้าที่จัดเก็บ และออกแบบระบบดับเพลิงที่เหมาะสม ตามระดับความรุนแรงของวัตถุ นั้นๆ

Storage Height หรือความสูงในการจัดเก็บสินค้า คำแนะนำที่ดีสำหรับ อาคารที่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า ในปริมาณมากคือ อย่าเก็บสูง ความสูงของการจัดเก็บสินค้า จะส่งผลโดยตรงต่อการออกแบบระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง โดย การเก็บสินค้าที่สูงก็เหมือนการกองเชื้อเพลิงที่สูง ดังนั้น ระดับความรุนแรงของเพลิงก็จะสูงตามไปด้วยนั่นเอง

Plastic pallet หรือ พาเลทพลาสติกที่บรรทุกสินค้า ในโรงงาน เป็นตัวแปรหนึ่งในการออกแบบระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง เนื่องจากตัว พาเลท นับเป็นเชื้อเพลิง ด้วยนั่นเอง ซึ่งถ้าอาคาร ของคุณไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้พาเลทพลาสติก การใช้พาเลทไม้ จะช่วยคุณลดต้นทุนในการออกแบบระบบดับเพลิง

Aisle width หรือ ช่องทางเดินระหว่าง พื้นที่จัดเก็บสินค้า เป็นอีกตัวแปรหนึ่งในการออกแบบระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง เพราะ การลุกลามของเหตุเพลิงไหม้จะลุกลามได้ดีในพื้นที่ที่มีช่องทางเดินแคบกว่า โดยปกติ NFPA จะแบ่งช่วงของการออกแบบช่องทางเดินที่ ไม่เกิน 1.2 เมตร และ 2.4 เมตร 

 


Open top container และ Solid shelves คือฝันร้ายของนักออกแบบระบบดับเพลิง

Open top container หมายถึง พาชนะบรรจุสินค้าประเภทที่เป็นฝาเปิด ทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่าน ช่องว่างระหว่าง สินค้า (Flue) และสามารถกักเก็บน้ำไว้ที่ภาชนะนั้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้ Rack ถล่มลงมาได้หากมีการกักเก็บน้ำที่มากเกินไป

Solid shelves หรือ Solid shelving หมายถึงแผ่นรองสินค้าแบบทึบ หรือการจัดเก็บสินค้าที่ใกล้กันมากๆจนมีผลกับการทำงานของหัวสปริงเกอร์ดับเพลิง

ซึ่งตามมาตรฐาน NFPA การจัดเก็บ ประเภท Rack storage โดยทั่วไปจะระบุว่า ไม่รวมกับจัดเก็บที่มี Open top container และ solid shelves เนื่องจาก วัตถุ สองประเภทนี้จะขัดขวางการทำงาน ของสปริงเกอร์ โดยตรง ทั้งประเภท ที่มี Inrack sprinkler หรือ ไม่มีก็ตาม

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งสำหรับแนวคิดในการ สร้างหรือเลือกใช้ อาคารจัดเก็บสินค้า เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการออกแบบและติดตั้งระบบดับเพลิง ซึ่งเป็นภาพรวมทั่วไป และอาจจะใช้ได้ไม่ทั้งหมดในทุกพื้นที่ เช่น อาคารจัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ หรือ อาคารที่มีการจัดเก็บแบบ Rack storage สูงๆ ที่จะต้องมีตัวแปรอื่นๆในการออกแบบมากขึ้น ซึ่งถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาลงเพิ่มเพื่อแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ

บทความที่ได้รับความนิยม