สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเริ่มออกแบบระบบ สปริงเกอร์น้ำดับเพลิง Part 1

        การออกแบบระบบดับเพลิงด้วยระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง (Sprinkler fire protection system) นั้น เป็นการออกแบบ โดยการคำนวณปริมาณ การกระจายน้ำ ในพื้นที่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยจะเป็นการคำนวณ ปริมาณน้ำ ร่วมกับ ระบบท่อยืน หรือ ตู้ Fire hose cabinet.

        องค์ประกอบของไฟ คือสิ่งที่ หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือได้ยินมา ว่า องค์ประกอบ การเกิดเพลิงไหม้ ประกอบด้วยสามส่วนคือ เชื้อเพลิง ความร้อน และ อากาศ ซึ่งตอนหลังจะมี ปฏิกิริยาต่อเนื่อง ที่สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้  ซึ่งพื้นฐานการออกแบบระบบดับเพลิงนั้น จะเป็นการตัดองค์ประกอบ ดังกล่าวออกจากกัน และ การออกแบบระบบดับเพลิงด้วยสปริงเกอร์ นั้น คือการ ตัดองค์ประกอบความร้อน ออกจาก เชื้อเพลิงด้วยน้ำ นั่นเอง



        มาตรฐานการออกแบบระบบดับเพลิง นอกจากหนังสือสอนการออกแบบระบบดับเพลิงของ วสท. แล้ว มาตรฐานสากลที่เราควรรู้จักเป็นพื้นฐานนั่นคือ NFPA และ FM Global ที่บ้านเราส่วนใหญ่ จะใช้อ้างอิงในการออกแบบเป็นหลัก

        NFPA. คือมาตรฐานการออกแบบระบบดับเพลิง ซึ่งมาตรฐานของ วสท. ส่วนใหญ่จะอ้างอิง NFPA จะมีหลายหมวดหมู่ทั้งมาตรฐานการออกแบบระบบดับเพลิง การ ป้องกัน และ การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือมาตรฐาน การก่อสร้างต่างๆ โดยหมวดหมู่ที่ควรทราบของระบบสปริงเกอร์ดับเพลิง ที่เกี่ยวข้องหลักๆ จะอยู่ในหมวดต่างๆดังนี้

    -  NFPA-13 : Standard for the Installation of Sprinkler Systems

    -  NFPA-14 : Standard for the Installation of Standpipe and Hose Systems

    -  NFPA-20 : Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection

    -  NFPA-24, Standard for the Installation of Private Fire Service Mains

     -  NFPA 30: Flammable and Combustible Liquids Code

และอื่นๆ เช่น ถังดับเพลิง หรือระบบดับเพลิงอื่นๆ  ซึ่งถ้าเรามีพื้นฐานเรื่องมาตรฐานการออกแบบจะสามารถออกแบบระบบดับเพลิง ได้ในพื้นที่หลากหลายยิ่งขึ้น 

        Hazard Classification หรือ ระดับความอันตรายต่อพื้นที่ครอบครอง หรือพื้นที่ ที่เราจะออกแบบระบบดับเพลิง เป็นสิ่งแรกที่เราควรทราบ และแบ่งแยกได้ ซึ่งมาตรฐาน NFPA ได้แบ่งระดับความอันตรายตามพื้นที่ดังต่อไปนี้

    - Light Hazard : เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาล, อาคารสำนักงานทั่วไป

    - Ordinary Hazard Group 1, Group 2 : เช่น โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค, Shop machine

    - Extra Hazard Group 1, Group 2 : เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก, โรงพ่นสี

ซึ่ง ระดับความอันตราย จะเป็นตัวแปรหลัก ในการกำหนดขอบเขต ในการออกแบบระบบดับเพลิงด้วยสปริงเกอร์ ทั้งในส่วนของ ขนาดของการแบ่งโซนวาล์ว ปริมาณน้ำที่ใช้ และระยะห่างหัวของหัวสปริงเกอร์ 

Note : พื้นที่จัดเก็บสินค้า จะต้อง พิจารณาที่ สินค้าที่จัดเก็บ รูปแบบการจัดเก็บสินค้า และโครงสร้างอาคาร ไม่ได้เป็นการออก แบบตาม Hazard classification

ใน Part ต่อๆไป จะเป็นการแนะนำในส่วนของ โครงสร้างระบบ และ Factor ที่ใช้ในการคำนวณครับ


บทความที่ได้รับความนิยม