ความรู้เบื้องต้น เรื่องการออกแบบระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้

        ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ หรือ ระบบ Fire alarm มีความหมายตรงตัว ก็คือระบบ ที่มีไว้สำหรับแจ้งเตือนเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการอพยพผู้คน และ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ดังกล่าว

        ซึ่งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ พิ้นฐานโดยปกติ จะแบ่ง ส่วนการทำงาน ดังนี้

        1. ระบบตรวจจับเพลิงไหม้ ในปัจจุบัน มีหลายประเภท ทั้ง อุปกรณ์ตรวจจับควัน ตรวจจับความร้อน ตรวจจับเปลวเพลิง รวมไปถึง อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ หรือ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า Manual นั่นเอง

โดยทั่วไป อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ จะถูกเลือกใช้ ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่และ ระยะของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง โดยพื้นฐานระดับของการเกิดเพลิง ไหม้ จะเริ่มจาก ควันในปริมาณที่น้อย ไปถึงมาก และ จึงจะเกิดเปลวเพลิงตามรูปด้านบน

        ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับ อุปกรณ์ตรวจจับนั้น นอกจาก ปกป้องชีวิตแล้ว ถ้าทรัพย์สินเป็นสิ่งมีค่ามากๆ เช่น พื้นที่ Data center หรือ พิพิธภัณฑ์ การตรวจจับก็ยิ่งจำเป็นจะต้องเร็วมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วย ราคาที่สูงยิ่งขึ้นเช่นกัน


        2. ส่วนแจ้งเตือน ( Annunciator system ) ในทางระบบ FIre alarm โดยส่วนใหญ่จะแจ้งเตือนเป็น Visible และ Audible เช่น อุปกรณ์ Bell, Alarm horn with strobe light. Speaker. 

 

        3. ส่วนควบคุม ( Fire alarm control panel ) เป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่มีหน้าที่ควบคุมทั้งการรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับ และ ส่งสัญญาณไปยัง อุปกรณ์แจ้งเตือน ซึ่งโดบปกติ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

               - Conventional Type เป็นระบบควบคุมการทำงานอย่างง่าย ไม่ซับซ้อนมาก มีแค่ In-put และ out-put รับสัญญาณแจ้ง เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่เล็กๆ แบ่งการทำงาน ได้มากสุด 20 โซน สามารถส่ง out put ไปยังระบบอื่นๆได้แค่ Alarm/Trouble ส่วนใหญ่การแจ้งเตือนจะแจ้งเตือนแบบรวม ไม่สามารถแยก โซนได้

               - Intelligent Type หรือ Addressable type เป็นระบบแจ้ง เตือนเหตุเพลิงไหม้ ที่เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน ทำงานร่วมกับ อุปกรณ์โมดุล เพื่อ ระบุหมายเลขของอุปกรณ์ ในการสั่งการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัว และสามารถ ทำโปรแกรมเลือกส่งสัญญาณร่วมกับระบบ Network อื่นตามที่ต้องการได้

บทความที่ได้รับความนิยม