แนวคิดการออกแบบขนาดท่อ ระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง ด้วย Pipe schedule

บ่อยครั้งที่เราจะเห็นตารางออกแบบขนาดท่อ ระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง หรือที่เราเรียกกันว่า ออกแบบตาม Pipe schedule

ซึ่งการออกแบบขนาดท่อ ตาม Pipe schedule นั้น โดยปกติจะใช้ สำหรับประเมินขนาดท่อตามจำนวนหัวสปริงเกอร์ ในกรณี ที่ไม่ได้ทำรายการคำนวณ อัตราการไหล โดยโปรแกรม หรือที่เราเรียกกันว่า Hydraulic calculation

    ซึ่งข้อดีของการออกแบบตามตาราง Pipe schedule นั้น จะได้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือ ออกแบบได้ง่ายและค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากจะมีการคำนวณทีโดยมีการเผื่อ ในเรื่องอัตราการไหล ไว้แล้ว 

    แต่การออกแบบ ตามตาราง Pipe schedule ยังมีข้อควรระวัง ที่ควรรู้ ซึ่งผู้เขียนจะแยกเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ 

            การออกแบบ ขนาดท่อ ระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง ตามตาราง Pipe schedule สามารถออกแบบ ได้เฉพาะ พื้นที่ประเภท Light hazard และ Ordinary hazard ซึ่งเป็นการประเมินการคำนวณอัตราการไหล ด้วย หัวสปริงเกอร์ขนาด  K-5.6 ดังนั้น ขนาดหัวสปริงเกอร์ นอกเหนือจากนี้ จะต้องคำนวณด้วย โปรแกรมเท่านั้น

ดังนั้น ปัญหาที่มักจะพบเจอบ่อยๆ ว่าอัตราการไหลของท่อไม่พอ (แคลไม่ผ่าน) คือ ออกแบบระบบดับเพลิงด้วย Ordinary Hazard แต่ใช้ หัว sprinkler K-8.0 ซึ่งต้องการอัตราการไหล ที่มากกว่าในการทำงานนั่นเอง

     การออกแบบ ประเภท Density / Area เป็นการออกแบบ โดยประเมินอัตราการไหล ต่อ พื้นที่ความเสียหาย ที่ออกแบบไว้ ซึ่ง จำนวนหัวสปริงเกอร์ จะหารพื้นที่ต่อหัว และนำมาประเมิน จำนวนหัวที่ทำงาน (หัวที่แตก) ดังนั้นการคำนวณขนาดท่อควรคำนวณจาก ปริมาณจากหัวที่ใช้งาน ไม่ใช่หัวที่ติดตั้ง

ยกตัวอย่าง พื้นที่ Ordinary Hazard Group 1 ถ้าคำนวณ Design area ที่ 140 ตารางเมตร และ พื้นที่ต่อหัวที่ 12 ตารางเมตร ดังนั้น จะประเมินหัว สปริงเกอร์ที่ ใช้งาน ที่ 12 หัว และถ้าตูจากตารางตามภาพ ท่อเมนที่ใช้งานจริงจะมีขนาด อยู่ที่ 65 mm. ไม่รวม lost ของระบบ

    การออกแบบ ขนาดท่อ ระบบสปริงเกอร์น้ำดับเพลิง ตามตาราง Pipe schedule สามารถออกแบบได้ง่ายและช่วยลดความผิดพลาด งานติดตั้ง ในการประเมินท่อในพื้นที่ๆซับซ้อน แต่ถ้า พื้นที่ๆ เป็น Pattern เดียวกัน หรือรูปแบบไม่ซับซ้อนมาก การคำนวณด้วยโปรแกรม จะสามารถ ลดค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ได้มากกว่าเช่นเดียวกัน 

บทความที่ได้รับความนิยม