ความรู้ทั่วไป เรื่อง รอกและปั้นจั่น Hoist and Crane

ก่อนที่เราจะมารู้จักกับเครนอยากให้ทำความเข้าใจไว้นิดนึงว่า

เครน หรือ Crane ถูกเรียกในภาษาราชการว่า ปั้นจั่น คือ เครื่องยกของหนักประกอบด้วยเสาและรอก

ส่วน Hoist หรือ รอก คือ เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่อง สําหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สําหรับยก ลาก หรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.

อธิบายง่ายๆว่า รอก มีทิศทางการเคลื่อนที่แค่ สองทิศทาง เช่น ขึ้น – ลง แต่ถ้ามากกว่านั้นเรียกว่า ปั้นจั่นครับ
(สำหรับ ปั้นจั่นที่กดเสานั่น มันคือรอกครับ ไม่ใช่ปั้นจั่น)

แต่เพื่อไม่ให้สับสน ผมขอเรียกว่าเครนนะครับ

ประเภทของเครน จะแบ่งออกเป็นสองประเภทแยกตามกฎหมายควบคุมรอกและปั้นจั่น คือ แบบอยู่กับที่ ( คป.1) และแบบเคลื่อนที่ ( คป.2)

( เครนแต่ละตัว ต้องมี ใบอนุญาตและรับรองความปลอดภัย ก่อนการใช้งาน ทุกตัว )
เครนชนิดอยู่กับที่ หรือ Stationary Crane

แบ่งตามลักษณะการทำงาน หรือสถานที่ติดตั้ง เช่น

Tower Crane หรือ เครนหอสูง
จะเห็นทั่วไป ตามไซต์งานก่อสร้าง เครนชนิดนี้ จะเคลื่อนที่รอบแกน โดยใช้ แขนเหวี่ยงในการเคลื่อนย้าย วัตถุ














Overhead Crane หรือ เครนเหนือศรีษะ
จะเห็นทั่วไปในโรงงาน โดยเครนชนิดนี้จะวิ่งไปตามราง ที่อยู่บนเสาของโรงงาน และรอกสำหรับยกวัตถุ จะเคลื่อนย้าย ตามแนวของคานได้














Gantry Crane หรือเครนขาสูง
เครนชนิดนี้ การทำงานจะเหมือน Overhead Crane แต่สร้างขาและทำรางกับพื้นขึ้นมา สำหรับงานกลางแจ้งที่ไม่มี รางด้านบน




















Harbor Crane หรือ เครนท่าเรือ

เครนชนิดนี้ ปกติจะเห็นได้ตามท่าเรือ มีไว้สำหรับขนถ่ายวัตถุ ขึ้นหรือลงเรือ


















เครนแบบเคลื่อนที่ หรือ Mobile Crane

จะแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานทั่วไปเช่น

Rough Terrain Crane เครนล้อยาง เห็นได้ทั่วไป มีความคล่องตัวเหมาะสำหรับ ทำงานได้ทุกพื้นที่












Hydraulic Truck Crane ลักษณะและรูปแบบการทำงานคล้าย Rough Terrain Crane













Crawler Crane เครนตีนตะขาบ ประสิทธิภาพการยกดีกว่า Rough Terrain Crane เหมาะสำหรับยกงานที่มี น้ำหนักสูง

บทความที่ได้รับความนิยม