วิธีการแปลงหน่วย พร้อมของแถมท้ายเล่ม

ขึ้นหัวข้อซะเหมือนนิตรสารรายสัปดาห์เลย ^^

วันนี้มาแนะนำการแปลงหน่วยครับ เพราะ บางทีเราก็ต้องแปลงหน่วยตามที่ ลูกค้าต้องการ

หรือ หัวหน้าสั่งมาว่า เฮ้ยเอ็งไปหา ปั้มขนาด 500 LPM มาดิ๊

ที่ยกตัวอย่างเป็น ปั้ม เพราะ ปั้ม จำเป็นต้องใช้การแปลงหน่วย ในการหาสินค้าบ่อยมาก

ซึ่ง เรามองดู กราฟ ของกำลังปั้ม อาจจะเป็น LPM (ลิตรต่อนาที) แต่อัตราการไหล

ที่ใช้ในการคำนวณจริงกลับเป็น ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

หลายๆคนคงจะงงว่า เอ.... เราจะ แปลงหน่วย ที่มันเป็นเศษส่วน มีตัว / ยังไง

งั้นดูตัวอย่างกันก่อน

60 m^3/hour

ลองแปลงเป็น liter /min หรือ LPM ที่เราเรียกกันนั่นล่ะ

( m3 คือลูกบากศ์เมตรนะครับ พิมพ์ ตัวยกไม่ได้ )

1. เปลี่ยนให้เป็น liter ต่อ ชั่วโมงก่อน

จำไว้ว่า

ด้านหน้า / ถ้าหน่วยที่เรา ไปเปลี่ยนมันใหญ่กว่า ให้เอามาคูณ น้อยกว่าให้หาร

ด้านหลัง / ถ้าหน่วยที่เรา ไปเปลี่ยนมันใหญ่กว่า ให้เอามาหาร น้อยกว่าให้คูณ

อย่างง นะครับ ให้หัดเขียนและนึกถึงรูปนี้ไว้









แปลว่า หนวยใหญ่กว่า ด้านหน้าคูณ ด้านหลังหาร


ดังนั้น m^3 ใหญ่กว่า litre ให้คูณ

เมื่อ 1000 ลิตรเท่ากับ 1 m^3

= 30 x 1000 = 30000 litre/hour

2. ต่อเนื่องเลยนะครับ เปลี่ยนให้เป็น ชั่วโมง เป็น นาที และ ชั่วโมงมันใหญ่กว่า นาที ต้องเอามาหาร

ดังนั้นเมื่อ 60 นาที เท่ากับ 1 ชั่วโมง

= 30000 / 60 = 500 Liter/min

แล้วทีนี้ สิ่งที่ควรรู้คือ หน่วย ว่า หน่วยนี้ เท่ากับ หน่วยนี้ เท่าไหร่

ยกตัวอย่าง

1 ลูกบาศก์เมตร = 1000 ลิตร

1 แรงม้า = 746 วัตต์

1 นิ้ว = 25.4 มิลลิเมตร

1 ฟุต = 300 มิลลิเมตร ( โดยประมาณ )

บางทีควรรู้ไว้นะครับ เพราะ เหล็กแผ่นมาตรฐาน เค้าขายเป็น

4x8 5x10 5x20 เราควรตอบได้ทันทีเลยว่า
= 1200 x 2400
= 1500 x 3000
= 1500 x 6000

อ้อ... ถามหาของแถมกันหรือครับ

จัดไปครับ โปรแกรมแปลงหน่วย ทุกสกุลนะครับ วิธีใช้ก็ง่าย งั้นไม่ต้องบอกก็ได้เนาะ ^^

Download ได้ที่นี่ครับ

บทความที่ได้รับความนิยม