
ลวดเชื่อมไฟฟ้า จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ลวดเชื่อมเปลือย (Bare Electrode) ที่นิยมใช้ในงานเชื่อมอัตโนมัติ และ ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Flux covered Electrode) หรือลวดเชื่อมที่เห็น กันตามหน้างานทั่วไปซึ่ง เป็นจุดที่ควรให้ความสนใจในการเรียนรู้งานเชื่อมเบื้องต้น
ฟลักซ์ หรือ Flux คือวัสดุที่ห่อหุ้มลวดเชื่อม ที่จะละลายไปพร้อมลวดเชื่อม ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันอากาศเข้าไปในรอยเชื่อม ป้องกันเนื้อโลหะไม่ให้เย็นตัวเร็วเกินไป และเป็นตัวยึดจับเศษแปลกปลอม ในเนื้อโลหะมาจับตัวกันเป็น แสลก (Slag) ถ้าพื้นที่งานเชื่อม มีลมแรงๆ ก็มีผลให้รอยเชื่อมไม่สมบูรณ์ได้นะจ้ะ
แสลก หรือ Slag เกิดจากการรวมตัวกัน ของเศษโลหะที่ไม่ใช่เนื้อเดียวกันกับโลหะที่ต้องการประสาน ซึ่งปกติถูก ฟลักซ์จับเป็นก้อนและลอยขึ้นบนผิวโลหะ ซึ่งการเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์ หรือ การไม่ทำความสะอาดชิ้นงานก่อนทำงานเชื่อม จะทำให้ ฟลักซ์ จับเศษโลหะได้ไม่หมดและ ฝังตัวอยู่ใน แนวเชื่อม เรียกว่า อาการ Slag Inclusion
WQT (welding qualification test) คือ การสอบวัดระดับของช่างเชื่อม ซึ่งระดับความยากของท่าทดสอบมีตั้งแต่ 1G-6G ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของงานเชื่อมแต่ละประเภท
เราสามารถ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแนวเชื่อม ได้ โดยไม่ต้องทำลายชิ้นงาน เราเรียกวิธีนี้ว่า NDT
(Non-Destructive Testing) ซึ่งจะ แบ่งชนิดการ ตรวจสอบได้ตามมาตรฐาน ของ ASME และ ISO
ซึ่งจะกล่าวต่อไปในตอนที่ 2