ประเภทของการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non destructive testing)

รูปภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:Ultrasonic_pipeline_test.JPG

ขั้นตอนการตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย เราเรียกวิธีนี้ว่า Non destructive testing หรือ NDT เพื่อตรวจสอบ ความสมบูรณ์ของแนวเชื่อม เช่นโพรง วัตถุแปลดปลอม หรือข้อบกพร่องใดๆที่ส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในแนวเชื่อม ซึ่ง วิธีตรวจสอบมีหลายประเภทแตกต่างกันไป ตามเงื่อนไขของผู้ว่าจ้าง หรือ ตามข้อจำกัดของชิ้นงานที่ทำการตรวจสอบ แต่วิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้เป็นวิธี ที่นิยมใช้ทั่วๆไป

1. Penetrate testing ( PT ) คือการใช้น้ำยาเคมี ทาลงไป ในแนวเชื่อม เพื่อให้แทรกซึมลงไปในแนวเชื่อม นิยมใช้เพื่อตรวจสอบหารอยร้าว หรือรอยรั่ว บริเวณพื้นผิวของแนวเชื่อม และนิยมใช้ในกรณีที่ชิ้นงานไม่ใช่เหล็ก

2. Magnetic testing (MT) เป็นวิธีการตรวจสอบข้อบกพร่องของแนวเชื่อม ด้วยหลักการ การเหนี่ยวนำกระแสแม่เหล็ก โดยใช้ผงแม่เหล็กในการค้นหาข้อบกพร่องของ แนวเชื่อม ซึ่งวิธี สามารถทำได้เฉพาะชิ้นงานที่มีความหนาไม่มาก เพราะ ถ้าชิ้นงานหนาเกินไป จะทำให้ กระแสแม่เหล็กเหนี่ยวนำไม่ถึง และตรวจข้อบกพร่องนั้นไม่ครบ

3. Ultrasonic Testing (UT) เป็นวิธีการตรวจสอบด้วยคลื่นเสียง Ultrasonic ในการตรวจสอบข้อบกพร่อง เป็นวิธีที่ นิยม ในการตรวจสอบชิ้นงานเพราะตรวจสอบได้ค่อนข้างละเอียด แม่นยำ แต่มีราคาค่อนข้างแพง และมีข้อจำกัด เรื่องการสะท้อนของคลื่นเสียง ดังนั้นชิ้นงานจะต้องหนากว่า 10 มม. ขึ้นไป

4. Radiation Testing (RT) เป็นวิธีการตรวจสอบ ด้วยการยิงรังสี Gamma แล้วตรวจสอบรอยเชื่อมด้วยความแตกต่างในการดูดซับรังสี ด้วยฟิล์มบันทึกผล ซึ่งเป็นวิธีที่ตรวจสอบได้ละเอียด และมีราคาถูกกว่าวิธี UT แต่ใช้เวลาการเตรียมการนาน เนื่องจากต้องมีการกั้นพื้นที่สำหรับตรวจสอบ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับคนที่อยู่ในบริเวณ และใช้เวลาตรวจสอบผลค่อนข้างนาน

บทความที่ได้รับความนิยม